สถานที่ที่เคยไปเที่ยวในจังหวัดมหาสารคาม
10 ที่เที่ยวแนะนำเมื่อมาเยือนจังหวัดมหาสารคาม เมืองตักศิลาแห่งอีสาน
จังหวัดมหาสารคาม เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่กลางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บรรยากาศของเมืองมีความเงียบสงบและเรียบง่ายตามแบบฉบับของเมืองอีสาน อีกทั้งในปัจจุบันยังมีความสำคัญในฐานะเป็นศูนย์กลางด้านการศึกษาแห่งหนึ่งของภูมิภาค เนื่องจากมีสถาบันการศึกษาอยู่มากมาย จึงได้ชื่อว่าเป็น "ตักศิลาแห่งอีสาน"
จังหวัดมหาสารคาม มีทรัพยากรการท่องเที่ยวที่โดดเด่นในด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และประเพณี และเนื่องจากยังมีความเจริญไม่มากนัก ผู้ที่มาเยี่ยมเยือนเมืองมหาสารคามนี้ จึงได้สัมผัสกับวิถีชีวิตชาวอีสานอันเรียบง่ายและบริสุทธิ์ เป็นเสน่ห์ที่นับวันจะหาได้ยากในสังคมเมืองปัจจุบัน
1. สะพานไม้แกดำ
สะพานไม้แกดำ อีกหนึ่งสะพานไม้เก่าแก่ในบรรยากาศแบบท้องทุ่ง เป็นอีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวใหม่ของจังหวัดมหาสารคามที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ และเที่ยวชม เพื่อสัมผัสของกลิ่นไอแห่งความเป็นชาวบ้านกับสะพานที่ทอดตัวยาวท่ามกลางหนองน้ำแกดำไกลสุดตากว่า 1 กิโลเมตร ท่ามกลางบึงบัวและพืชน้ำสีเขียวและความหลากทางธรรมชาติ ถือว่าเป็นสะพานสุด unseen อีกแห่งหนึ่ง ที่ควรค่าแห่งการเดินทางมาเช็คอิน
สะพานไม้แกดำ ตั้งอยู่ที่วัดดาวดึง อำเภอแกดำ จังหวัดมหาสารคาม เป็นสะพานไม้เก่า อายุราวกว่า 50 ปี ที่ชาวบ้านใช้เป็นเส้นทางข้ามอ่างเก็บน้ำหนองแกดำ โดยเชื่อมระหว่างบ้านหัวขัวกับหมู่บ้านแกดำ แต่ก่อนสะพานไม้นี่ทรุดโทรมาก ชาวอำเภอแกดำพร้อมด้วยกำลังทหาร ช่วยกันซ่อมแซมสะพานไม้ โดยหวังให้ชาวบ้านได้ใช้ประโยชน์และอนุรักษ์ไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษา รวมถึงพัฒนาสะพานไม้เก่าแก่แห่งนี้ ให้เป็นสถานที่ถ่ายภาพและเป็นแหล่งท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดมหาสารคาม
สะพานไม้ที่ทอดยาวไปยังอ่างเก็บน้ำหนองแกดำซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวตามธรรมชาติของอำเภอแกดำ มีเนื้อที่ประมาณ 1,000 ไร่ ครอบคลุม 3 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านแกดำ บ้านหัวขัว บ้านโพธิ์ศรี เป็นแหล่งน้ำธรรมชาติที่มีความสำคัญต่อชาวอำเภอแกดำ เพราะเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลา มีความหลากหลายทางชีวภาพทั้งสัตว์น้ำ พื้ชน้ำ เช่น บัวแดง แหน สาหร่ายหางกระรอก เป็นต้น นอกจากนี้ในหน้าหนาวยังสามารถพบเห็นนกเป็ดน้ำบินหนีหนาวมาจากไซบีเรีย มาอาศัยในบริเวณหนองแกดำด้วย
อุทยานมัจฉาโขงกุดหวาย เรียกว่าเป็นสถานที่แหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์เชิงชนบท โดยได้รับการประกาศเป็นแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดมหาสารคามเมื่อปีพ.ศ.2540 เนื่องจากแหล่งท่องเที่ยวแห่งนี้มีฝูงปลาหลายร้อยชนิดที่มาจากแม่น้ำชีได้ทะลักเข้ามาอยู่ตั้งแต่ตัวเล็กไปจนถึงตัวใหญ่ และส่วนมากจะเป็นปลาเผาะซึ่งเป็นปลาเนื้ออ่อน ต้นตระกูลของปลานี้จะอยู่ในแม่น้ำโขง ชาวบ้านส่วนใหญ่อนุรักษ์ไว้เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้มาดูและศึกษาชนิดพันธุ์ปลาต่างๆเหล่านี้
2. อุทยานมัจฉาโขงกุดหวาย
อุทยานมัจฉาโขงกุดหวาย เรียกว่าเป็นสถานที่แหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์เชิงชนบท โดยได้รับการประกาศเป็นแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดมหาสารคามเมื่อปีพ.ศ.2540 เนื่องจากแหล่งท่องเที่ยวแห่งนี้มีฝูงปลาหลายร้อยชนิดที่มาจากแม่น้ำชีได้ทะลักเข้ามาอยู่ตั้งแต่ตัวเล็กไปจนถึงตัวใหญ่ และส่วนมากจะเป็นปลาเผาะซึ่งเป็นปลาเนื้ออ่อน ต้นตระกูลของปลานี้จะอยู่ในแม่น้ำโขง ชาวบ้านส่วนใหญ่อนุรักษ์ไว้เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้มาดูและศึกษาชนิดพันธุ์ปลาต่างๆเหล่านี้
3. พิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
พิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยมหาสารคามเป็นแหล่งเรียนรู้เพื่อปลูกจิตสำนึกในคุณค่าแห่งตัวตน และสร้างสรรค์องค์ความรู้ด้านพิพิธภัณฑ์เพื่อการพัฒนาสังคม เป็นสถานที่ที่สื่อสารถึงอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยมหาสารคามที่มีจุดเริ่มต้นและพัฒนาการอย่างมีความหมายและความสำคัญควบคู่มากับพัฒนาการของสังคม เป็นศูนย์กลางแห่งการพัฒนาองค์ความรู้ด้านพิพิธภัณฑ์เพื่อส่งเสริมให้สังคมได้รับประโยชน์จากกิจการพิพิธภัณฑ์ ทั้งในด้านการปลูกจิตสำนึกแห่งคุณค่าและความสำคัญของท้องถิ่น และการจัดการพิพิธภัณฑ์ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ตลอดจนสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนและการวิจัยในสาขาวิชาต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ด้านประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา พิพิธภัณฑ์ศึกษา และเพื่อใช้เป็นสถานที่พักผ่อนและจัดกิจกรรมต่างๆ สำหรับนิสิต หน่วยงานในมหาวิทยาลัย และบุคคลโดยทั่วไป
ภายในพื้นที่โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยมหาสารคามได้แบ่งพื้นที่
ใช้สอยออกเป็น 8 ส่วน ดังนี้
1. เรือนอีสานประยุกต์หลังใหญ่ ประกอบด้วย สำนักงาน ห้องประชุมใหญ่ ห้องประชุมย่อย ห้องรับรอง คลังพิพิธภัณฑ์ หอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยมหาสารคาม และนิทรรศการพัฒนาการมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
2. เรือนอีสานประยุกต์หลังเล็ก ประกอบด้วยนิทรรศการพัฒนาการมหาวิทยาลัยมหาสารคาม และพื้นที่สำหรับจัดนิทรรศการหมุนเวียน
3. เรือนโข่ง ปัจจุบันเป็นที่ตั้งชมรมนาฏศิลป์และดนตรีพื้นเมืองมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
4. เรือเกย ปัจจุบันเป็นที่ตั้งโครงการอนุรักษ์ใบลานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
5. เล้าข้าว ตูบต่อเล้า จัดแสดงเครื่องมือเครื่องใช้ในวิถีชีวิตชาวลุ่มแม่น้ำชี
6. เรือนผู้ไท จัดแสดงนิทรรศการภูมิปัญญาชาวลุ่มแม่น้ำชี
7. ลานกิจกรรม เป็นพื้นที่สำหรับจัดกิจกรรมกลางแจ้ง
8. สถานีศึกษาสัตว์
4.พระพุทธมงคล พระพุทธมิ่งเมือง
พระพุทธมงคลพระพุทธมิ่งเมือง เป็นพระพุทธรูปสำคัญ ถือเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองอยู่ 2 องค์ คือพระพุทธมงคลและพระพุทธมิ่งเมืองเป็นพระเก่าแก่ เป็นโบราณวัตถุ และเป็นที่เคารพสักการบูชาของชาวอำเภอกันทรวิชัยมาแต่ครั้งโบราณ นอกจากนี้ยังมีพระพิมพ์ที่มีเนื้อดีเป็นที่นิยมของผู้สะสมพระเป็นอย่างยิ่ง เป็นพระพุทธรูปที่ชาวบ้านศรัทธานับถือกันมาก เชื่อกันว่าท่านจะช่วยในเรื่องของความอุดมสมบูรณ์ ให้ฝืนดินฝนตกชุ่มฉ่ำตกต้องตามฤดูกาลอีกด้วย5. พระธาตุนาดูน
พุทธมณฑลแห่งอีสาน ตั้งอยู่ที่บ้านนาดูน เขตอำเภอนาดูน เป็นเขตที่มีการขุดพบหลักฐานทางประวัติศาสตร์ โบราณคดีที่แสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองในอดีต
พระธาตุนาดูน เป็นโบราณวัตถุที่มีอายุมากกว่า 1,300 ปี เป็นสถูปที่ใช้บรรจุพระสารีริกธาตุ ลักษณะสถูปทำด้วยทองสำริด มีส่วนประกอบ 2 ส่วน
1. ส่วนยอด มีลักษณะ เป็นปล้องไฉน จำนวน 2 ปล้อง ส่วนบนสุดเป็นปลียอดกลม
2. ตัวสถูปทำด้วยทองสำริด มีลักษณะคล้ายระฆังหรือโอคว่ำ ส่วนยอดของตัวสถูป จะรับเข้ากับส่วนล่างสุดของส่วนยอดพอดี ตัวองค์พระธาตุจะแบ่งออกเป็น 16 ชั้น ลักษณะการก่อสร้างแบบคอนกรีตเสริมเหล็กทั้งหมด ภายในโปร่งจากฐานรากขึ้นไปชั้นที่1 สูง 3.7 เมตร
6. วนอุทยานโกสัมพี
วนอุทยานโกสัมพี (KOSUMPEE FOREST PARK) ตั้งอยู่ในเขตท้องที่เขตเทศบาลเมืองโกสุมพิสัย อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคามบริเวณ เขตวนอุทยานโกสัมพี มีเนื้อที่ ประมาณ 125 ไร่ ประกอบด้วยพื้นที่ดำเนินการ 2 ส่วน พื้นที่ส่วนที่ 1 ใช้สร้างอาคารสำนักงาน บ้านพักรับรอง บ้านพักเจ้าหน้าที่และอื่น ๆ พื้นที่ส่วนที่ 2 ใช้เป็นพื้นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าใช้สำหรับศึกษาธรรมชาติ และพักผ่อนอันประกอบไปด้วยป่าไม้ ลำน้ำชี แก่งตาด ลานข่อย และฝูงลิงแสม ประวัติวนอุทยานโกสัมพี
เดิมพื้นที่วนอุทยานโกสัมพี เป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ (ดอนมเหศักดิ์) ตั้งอยู่บ้านคุ้มกลาง ตำบลหัวขวาง ในเขตเทศบาล ตำบลหัวขวาง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม อยู่ติดแม่น้ำชี และมีองค์หลวงพ่อมิ่งเมือง ซึ่งเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ คู่บ้าน คู่เมืองของชาวอำเภอโกสุมพิสัยกราบไหว้บูชา นอกจากนี้ยังมีดอนปู่ตา พื้นที่มีสภาพเป็นป่าไม้เบญจพรรณ ต้นไม้ส่วนใหญ่เป็นไม้ยืนต้นขึ้นเป็นจำนวนมากและมีฝูงลิงแสมอาศัยอยู่เป็นจำนวน กว่า 500 ตัว ป่าหนองบุ่งแห่งนี้ เป็นสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ มีศาลเจ้าปู่ ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของชาวอำเภอโกสุมพิสัยแม้แต่ลิงแสมที่อาศัยอยู่เขตวนอุทยานโกสัมพีก็เชื่อกันว่า เป็นลิงของเจ้าปู่ไม่มีใครกล้าแตะต้อง
แต่เนื่องจากพื้นที่แห่งนี้ไม่มีเจ้าหน้าที่ดูแลรับผิดชอบโดยตรงทางจังหวัดมหาสารคามจึง ได้เสนอขอให้กรมป่าไม้มาดำเนินการจัดการพื้นที่สาธารณประโยชน์แห่งนี้ให้เป็นวนอุทยานเพื่อให้เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชนโดยทั่วไปและกรมป่าไม้โดยส่วนอุทยานแห่งชาติจึงได้เข้ามาดำเนินการแต่งตั้งเป็นวนอุทยาน ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2519 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบันโดยมีชื่อว่า "วนอุทยานโกสัมพี"
7.อ่างเก็บน้ำแก่งเลิงจาน
สวนสุขภาพแก่งเลิงจาน ติดกับอ่างเก็บน้ำแก่งเลิงจาน และศูนย์วิจัยพัฒนาสัตว์น้ำจืดมหาสารคาม ถนนเลี่ยงเมืองมหาสารคาม เป็นสถานที่พักผ่อนและเป็นสถานที่ออกกำลังกายแถบชานเมือง มีทิวทัศน์สวยงาม รับผิดชอบโดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม ได้ตั้งงบประมาณเพื่อปรับปรุงสวนสุขภาพแห่งนี้ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2529 สวนสุขภาพแก่งเลิงจาน ประกอบด้วย สวนดอกไม้ สระน้ำ หาดทราย ไม้ยืนต้นหลากหลายชนิด และอยู่ใกล้ พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำจืด ซึ่งได้รวบรวมพันธ์ปลาหายากและใกล้สูญพันธ์หลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นปลาจากลำน้ำชี ลำน้ำโขง เปิดให้ชมตั้งแต่เวลา 09.00 -16.30 น.ทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการหรือนักขัตฤกษ์ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ไปพักผ่อนที่สวนสุขภาพแก่งเลิงจาน จะได้สูดอากาศที่บริสุทธิ์ ทั้งยังได้ออกกำลังกายและดูสัตว์น้ำด้วย
8.หาดวังโก
หาดวังโก เป็นหาดทรายธรรมชาติ เกิดจากธรรมชาติของแม่น้ำที่น้ำไหลผ่านโค้งน้ำ ตะกอนทรายจะไหลไปทับถมเกิดเป็นหาดทรายโดยธรรมชาติ หาดวังโกก็เช่นเดียวกันตั้งอยู่บนโค้งของแม่น้ำชีซึ่งยาวประมาณ 1 กม. หัวท้ายของหาดถูกกั้นไว้ด้วยแก่งทั้งสองด้านด้านซ้ายมือเรียกว่า แก่งบ้านห้วยและขวามือเรียก แก่งท่าเตาดิน ทั้งสองแก่งทำหน้าที่เหมือนฝายทดน้ำธรรมชาติ(ลักษณะของแก่งทั้งสองจะเหมือนกัน กล่าวคือ จะเป็นลานหินทอดยาวขวางแม่น้ำชี) ในฤดูแล้งทั้งสองแก่งก็จะทำหน้าที่ฝายธรรมชาติกั้นน้ำไว้ทำให้แม่น้ำชีบริเวณหาดวังโกยังมีปริมาณน้ำเหลือเฟือพอจะทำให้นักท่องเที่ยวไปเล่นน้ำได้ ถึงแม้ว่าจะแล้งมากเหมือนปี 2556 นั้นก็ตาม
หาดวังโก ถูกครอบครองโดยอัตโนมัติจาก คุณเฉลิม ปัดทุม เนื่องจากมีที่ดินที่เป็นโฉนดครอบหาดวังโกทั้งหมด 102 ไร่พอดี ทางคุณเฉลิมปัดทุมได้จัดซื้อที่ดินแปลงดังกล่าวมาเมื่อปี 2547 และได้พัฒนาแบ่งเป็นค่ายลูกเสือชื่อว่า “ค่ายเสริมสุดา” นักเรียนจะมาเข้าค่ายที่นี่ปีละประมาณ 20,000 คน และมีความคิดริเริ่มจัดการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว และได้จัดเทศกาลหาดวังโก ทุก 11-17 เมษายนของทุกปี จนปัจจุบัน 2556 จัดเป็นปีที่ 9 แล้ว และในปีนี้ทางคุณเฉลิม ปัดทุม ได้จัดสร้างสไลเดอร์ผ้าใบขนาดยักษ์ ขนาด 5 x 70 เมตร เพื่อให้ลูกหลานที่มาเที่ยวงานเทศกาลหาดวังโกได้เล่นฟรีๆ ซึ่งสไลเดอร์ดังกล่าวปัจจุบันถือเป็นครั้งแรกในไทยที่ถูกสร้างขึ้น และใหญ่ที่สุดในโลก (ขณะนี้อยู่ระหว่างทำเรื่องขอไปยังกินเนสบุ๊ค) นอกจากนี้ยังมีหอสู50 ฟุตให้โดดข้ามแม่น้ำ ไป-กลับ เรือกล้วย เจทสกี ห่วงยางเล่นน้ำ ร่มและเต้นผ้าใบชายหาดเหมือนกับชายทะเลอีกด้วย
9. บึงบอน อำเภอ โกสุมพิสัย
บึงบอนเป็นหนองน้ำขนาดใหญ่ มีเนื้อที่ 120 ไร่ และมีถนนรอบบึงซึ่งได้รับงบพัฒนาฯ จากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย โดยมีความกว้าง 5 เมตร ยาว 2,689 เมตร นับว่าเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจอีกแห่งหนึ่ง บึงบอนเหมาะสำหรับการพักผ่อนหย่อนใจในวันหยุดนอกจากนี้ยังเหมาะแก่การเดินหรือวิ่งออกกำลังกายในยามเช้าและยามเย็น สำหรับผู้ที่รักในการปั่นจักรยานก็สามารถนำจักรยานเข้ามาปั่นออกกำลังกายได้ทั้งในช่วงเวลาเช้าและเวลาเย็น บึงบอนเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่เหมาะแก่การท่องเที่ยวทั้งปีเพราะเป็นสถานที่ที่มีอากาศดีและร่มรื่นเป็นอย่างมาก ตลอดสองข้างทางนักท่องเที่ยวจะได้พบกับต้นไม้น้อยใหญ่มากมาย
อีกทั้งนักท่องเที่ยวจะได้ชมภาพสะท้อนของต้นไม้บนผิวน้ำในยามเย็นนับว่าเป็นภาพที่สวยงามมาก เมื่อออกไปในบึงที่มีขนาดใหญ่สุดลูกหูลูกตา บึงบอนจัดว่าเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจที่สำคัญของอำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม เป็นสถานที่ที่ครอบครัวจะใช้เวลาร่วมกันพักผ่อน รวมทั้งเป็นสถานที่สำหรับเด็กๆวิ่งเล่นอย่างปลอดภัย บึงบอนเปรียบเหมือนปอดของชาวโกสุมพิสัย เนื่องมาจากบรรยากาศที่ร่มรื่น เหมาะสำหรับการสูดอากาศบริสุทธิ์จากต้นไม้น้อยใหญ่มากมาย ฉะนั้นหากนักท่องเที่ยวได้มีโอกาสผ่านไปมาบริเวณอำเภอโกสุมพิสัยจึงไม่ควรพลาดที่จะแวะพักที่บึงบอน ถ่ายรูปเก็บความประทับใจกับบรรยากาศที่สวยงามและร่มรื่นของบึงบอนไว้
10. ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง
ศาลหลักเมืองมหาสารคาม ตั้งขึ้นครั้งแรกในปีพ.ศ.2408 เมื่อท้าวมหาชัย เจ้าเมืองมหาสารคามคนแรกได้รวบรวมไพล่พลจากจังหวัดร้อยเอ็ดมาตั้งเมืองใหม่ ได้สร้างศาลหลักเมืองและอัญเชิญเจ้าพ่อหลักเมืองมาประทับ เพื่อเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง ถือว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์มากและ เป็นที่เคารพสักการะของชาวจังหวัดมหาสารคามมาอย่างยาวนานจึงอาจกล่าได้ว่าชาวบ้านมหาสารคามให้ความเคารพนับถือศาลหลักเมืองเป็นอย่างมาก โดยศาลหลักเมืองปัจจุบัน สร้างขึ้นเมื่อพุทธศักราช 2455 เดิมเป็นศาลไม้ ต่อมาในปีพุทธศักราช 2495 ได้ก่อสร้างศาลหลักเมืองหลังใหม่ และขยายบริเวณที่ตั้งศาลให้กว้างขวางออกไปอีกด้วย จนกระทั่งปีพุทธศักราช 2527 มีการบูรณะศาลหลักเมืองอีกครั้งหนึ่ง
โดยให้กรมศิลปากรออกแบบให้ถูกต้องตามจารีตประเพณีโบราณ ปัจจุบันนี้มีลักษณะเป็นอาคารจตุรมุข มีทางขึ้นทั้งสี่ทิศ เสาหลักเมืองทำด้วยไม้ชัยพฤกษ์ (ไม้คูนหรือแก่นคูน) แกะสลักลงรักปิดทองอย่างสวยงาม ศาลหลักเมืองมหาสารคาม อยู่ติดถนนนครสวรรค์ หน้าโรงเรียนหลักเมืองซึ่งเป็นถนนสายหลักที่แทบทุกคนจะต้องผ่านอยู่บ่อยๆ แม้กระทั่งคนที่เดินทางไกลจาก กทม. ผ่านมหาสารคามไปยังกาฬสินธุ์-สกลนคร-นครพนม-บ้านแพง-เรณูนคร ก็จะต้องผ่านหน้าศาลหลักเมืองมหาสารคามด้วยเช่นกัน ชาวเมืองและผู้ที่ผ่านไปมาต่างยกมือไหว้ หรือบีบแตรเมื่อผ่านหน้าศาลหลักเมืองแห่งนี้เมืองนี้ชาวมหาสารคามเชื่อกันว่ามีความศักดิ์สิทธิ์มาก จึงทำให้ผู้คนที่ผ่านไปผ่านมาได้ให้ความเคารพเชื่อถือกันหากใครต้องการสำเร็จในสิ่งใดไม่ว่าจะเป็นเรื่องการงานหรือเรื่องเรียนก็จะนิยมไปบนกับศาลเจ้าพ่อหลักเมืองกันหากท่านใดผ่านมาก็เชิญแวะสักการะศาลเจ้าพ่อหลักเมืองได้เพื่อความเป็นสิริมงคล ฉะนั้นหากนักท่องเที่ยวมีโอกาสผ่านไปมาบริเวณอำเภอเมืองมหาสารคามก็ไม่ควรพลาดที่จะแวะสักการะศาลหลักเมืองมหาสารคามเพื่อความเป็นสิริมงคลและเพื่อให้การเดินทางราบรื่นปลอดภัยรวมทั้งเพื่อขอพรตามที่ประสงค์
0 ความคิดเห็น: